เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] ปัญหาพยากรณ์

7. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะชัง
8. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะหลง
9. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว
ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจประพฤติละเมิดฐานะ 9 ประการนี้แล1

ปัญหาพยากรณ์

[187] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พระสมณโคดม ปรารภอดีตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้
แต่หาได้ปรารภอนาคตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้ไม่
ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้น กล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร’ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
เข้าใจญาณทัสสนะที่มีความหมายอย่างหนึ่งว่า ทรงบัญญัติรวมเข้ากับญาณทัสสนะ
ที่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งเหมือนคนโง่ ไม่เฉียบแหลมฉะนั้น ตถาคตมีสตานุสาริ-
ญาณ2 ปรารภอดีตกาลยาวนานได้ คือ ตถาคตระลึกได้ตลอดขอบเขตเท่าที่ประสงค์
และตถาคตมีญาณ3ที่เกิดจากการตรัสรู้ ปรารภอนาคตกาลยาวนานได้ว่า ‘ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’ แม้ถ้าเรื่องอดีต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็น
เรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) 23/7/446
2 สตานุสาริญาณ ในที่นี้หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้) (ที.ปา.อ.
187/ 103)
3 ญาณ หมายถึงมรรคญาณ 4 คือ (1) โสตาปัตติมรรค (2) สกทาคามิมรรค (3) อนาคามิมรรค
(4) อรหัตตมรรค (ที.ปา.อ. 187/103)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :145 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร] ปัญหาพยากรณ์

ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคต
ก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต
เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง
อนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่อง
นั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง
ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่อง
ปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง
ปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น
[188] จุนทะ ด้วยเหตุนี้ เพราะตถาคตเป็นกาลวาที1 ภูตวาที2 อัตถวาที3
ธัมมวาที4 วินยวาที5 ในธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น ชาวโลก
จึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น6 เสียงที่ได้ฟัง7 อารมณ์ที่ได้ทราบ8 ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง9 ที่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

เชิงอรรถ :
1 กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาเหมาะสม (ขุ.จู.อ. 83/64)
2 ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. 83/64)
3 อัตถวาที หมายถึงตรัสปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. 83/64)
4 ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. 83/64)
5 วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยที่มีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. 83/64)
6 รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) (ที.ปา.อ. 188/104, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/23/301)
7 เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) (ที.ปา.อ. 188/104, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/23/301)
8 อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) เพราะเป็นสภาวะที่บุคคลถึงแล้วจึงกำหนดได้ (ที.ปา.อ. 188/104, องฺ.จตุกฺก.อ.
2/23/ 301)
9 ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง หมายถึงธรรมารมณ์มีสุขและทุกข์เป็นต้น (ที.ปา.อ. 188/104, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/23/
301)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :146 }